ข่าวประกาศ

กรมสุขภาพจิต แนะสถานศึกษาและสถานที่ทำงานช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง และลดการใช้ COVID-19 เป็นเรื่องกลั่นแกล้งหรือกีดกัน

กรมสุขภาพจิต แนะโรงเรียนและสถานที่ทำงานช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง และลดการใช้ COVID-19 เป็นเรื่องกลั่นแกล้งหรือกีดกัน          วันนี้ (4 มีนาคม 2563) นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้กล่าวว่า คนไทยส่วนมากใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมงต่อวันในการอยู่ที่สถานที่ทำงาน และเด็กไทยใช้เวลาประมาณ 6-10 ชั่วโมงในการเรียนหนังสือ อยู่ที่สถานศึกษาต่างๆ ดังนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองและคนรอบข้าง ในสถานศึกษาและสถานที่ทำงานซึ่งมักเป็นสถานที่ปิดและมีคนอยู่เป็นจำนวนมาก           บุคลากรในสถานศึกษาและสถานที่ทำงานต่างๆ ควรถือว่าปัญหา COVID-19 เป็นวาระสำคัญของทุกคนในองค์กร แม้มีหน้าที่หลักแตกต่างกันออกไปแต่ทุกคนล้วนมีความสำคัญและบทบาทในการควบคุมปัญหา COVID-19 ไม่แตกต่างกัน การรณรงค์สามารถเริ่มได้จากการพูดคุยสนทนากันในวงเล็กๆ พูดคุยทำความเข้าใจซึ่งกันและกันในสถานการณ์ล่าสุด ให้เพื่อนได้ระบายความรู้สึกต่างๆที่อยู่ในใจ เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้า ตรวจสอบความเข้าใจว่าได้รับผลกระทบจากข่าวลือหรือข่าวปลอมหรือไม่ และหาข้อมูลเพิ่มเติมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุป           ครูอาจารย์ในสถานศึกษาอาจใช้เวลาส่วนหนึ่งของชั่วโมงสอน เพิ่มเติมความรู้ด้านการดูแลตัวเองของนักเรียนนิสิตนักศึกษา เช่น การกินของร้อน […]

กรมสุขภาพจิต แนะเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส พ่อแม่ช่วยลูกสร้างสำนึกต่อสังคมและสังคมสมานฉันท์ตั้งแต่เด็ก

กรมสุขภาพจิต แนะเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสของประเทศไทยกับปัญหา COVID-19 โดยผู้ปกครองช่วยกันปลูกฝังสำนึกต่อสังคมและสังคมสมานฉันท์ให้กับลูกหลานที่บ้านตั้งแต่วัยเด็ก ช่วยลดความกลัว ความวิตกกังวล ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง วันนี้ (3 มีนาคม 2563) นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้กล่าวว่า ตามที่กรมสุขภาพจิตรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึง 2 คำสำคัญ คือ สำนึกต่อสังคม (Social responsiveness) และ สังคมสมานฉันท์ (Social cohesion) เพื่อ ซึ่งจะทำให้วิกฤตการระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยก็จะไม่รุนแรง และเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด โดยการสร้างสำนึกเพื่อสังคมและการสร้างสังคมสมานฉันท์ ควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก การสร้างสำนึกต่อสังคมในเด็ก สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการที่ผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เด็กมีแนวโน้มที่จะทำตามจากการเห็นแบบอย่างที่ดีมากกว่าการสอนหรือแนะนำโดยวาจา พ่อแม่สามารถชักชวนลูกทำกิจกรรมหรือเล่นเกมที่เกี่ยวกับการดูแลตัวเองด้วยกัน เช่น การเล่นแข่งกันล้างมือให้สะอาด การช่วยกันเตรียมอาหารให้ร้อนและใช้ช้อนกลาง การชักชวนกันเล่นกีฬาออกกำลังกาย กิจกรรมประดิษฐ์หน้ากากอนามัยในบ้าน กิจกรรมทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น นอกจากนั้น การมอบหมายหน้าที่บางประการจะทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองและเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคให้เด็กได้ เช่น การมอบหมายหน้าที่ให้ช่วยดูแลการล้างมือของคนในบ้าน มอบหมายหน้าที่ให้หาความรู้เพิ่มเติมไว้สอนคนในบ้านหรือเพื่อนที่โรงเรียน เป็นต้น โดยเมื่อเด็กได้แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความมีสำนึกต่อสังคมแล้ว ผู้ปกครองควรสังเกตและให้คำชื่นชมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้พฤติกรรมนั้นยังคงอยู่ต่อไปในระยะยาว การสร้างสังคมสมานฉันท์ในเด็ก ก็สามารถเริ่มต้นด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ปกครองเช่นเดียวกัน โดยผู้ปกครองสามารถเป็นแบบอย่างในการช่วยเหลือคนอื่น ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ต่อว่าผู้อื่นรุนแรง หยิบยื่นน้ำใจให้กับคนรอบตัว แสดงความห่วงใยต่อผู้ที่อาจมีพฤติกรรมเสี่ยง […]

ตระหนัก ไม่ตระหนก ก้าวผ่านวิกฤติ COVID-19

คนไทยจะก้าวผ่านวิกฤติ COVID-19 ด้วยการมีสำนึกต่อสังคม Social responsiveness และสังคมสมานฉันท์ Social cohesion สำนึกต่อสังคม (Social responsiveness) การมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แนะนำให้ความรู้กับคนที่ยังไม่รู้ หรือให้ความช่วยเหลือแนะนำต่างๆ ฟังข้อมูลข่าวสารจากทางรัฐ หรือแหล่งที่เชื่อถือได้ ถ้าเจ็บป่วยโรคทางเดินหายใจ ให้ใส่หน้ากากอนามัย ไม่ปกปิดข้อมูลต้องแจ้งทางการ สังคมสมานฉันท์ (Social cohesion) สังคมไทยต้องรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อต่อสู้กับ COVID-19 ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลกัน ช่วยเหลือกัน ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข วิกฤติการระบาดของโรคในประเทศไทยจะรุนแรง และเกิดความสูญเสียน้อยที่สุดหากคนไทยร่วมมือกัน

คนไทยจะก้าวผ่านวิกฤติ COVID-19 สังคมสมานฉันท์ (Social cohesion)

คนไทยจะก้าวผ่านวิกฤติ COVID-19 สังคมสมานฉันท์ (Social cohesion) สังคมไทยต้องรวมใจเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อต่อสู้กับ COVID-19 ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลกัน ช่วยเหลือกัน ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข วิกฤติการระบาดของโรคในประเทศไทยจะรุนแรง และเกิดความสูญเสียน้อยที่สุดหากคนไทยร่วมมือกัน

1 46 47 48 49 50 63
Skip to content