admin

แนวทางการสังเกตจาก 7 สัญญาณเตือน ในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชรุนแรงจากยาเสพติด เพื่อลดการก่อเหตุความรุนแรงในสังคม และส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป

กรมสุขภาพจิต แนะคนในชุนชน ใช้แนวทางการสังเกตจาก 7 สัญญาณเตือน ในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชรุนแรงจากยาเสพติด เพื่อลดการก่อเหตุความรุนแรงในสังคม และส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป >> รายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/2YggFlY

โครงการปฐมนิเทศข้าราชการกรมสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2562 กลุ่มที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 -15 มิ.ย. 2562 ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารดี จ.นครปฐม

โครงการปฐมนิเทศข้าราชการกรมสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2562 กลุ่มที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 -15 มิ.ย. 2562 ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารดี จ.นครปฐมโดยมีเนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย ✏️ ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชนบ้านฝั่งคลองไปสู่การปฏิบัติจริง ✏️ การรู้จักตนเอง self awareness, การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการสื่อสารระหว่างทีมที่มีประสิทธิภาพ ✏️ค่านิยมกรมสุขภาพจิต (MENTAL) ✏️ แผนยุทธศาสตร์ชาติ กรมสุขภาพจิต กรอบทิศทางงานสุขภาพจิต และพรบ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 ✏️ ระบบสารบรรณและหลักการเขียนหนังสือราชการ ✏️ เทคนิคการใช้เทคโนโลยีดิจทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ✏️ กฎหมายและวินัยข้าราชการ ✏️ การปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ✏️ ความรู้ ทักษะ สมรรถนะกรมสุขภาพจิต และแนวทางประเมินผลการปฏิบัติราชการ ✏️ เทคนิคการพูดและนำเสนอในที่ประชุม

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน พฤษภาคม 2562 หน่วยงานศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 กรมสุขภาพจิต

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน เมษายน 2562 หน่วยงานศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 กรมสุขภาพจิต

4 วิธี ดูแลผู้ป่วยจิตเภท “ญาติใกล้ ได้ยา มาตามนัด ขจัดยาเสพติด”

4 วิธี ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ญาติใกล้ มีญาติคอยดูแล ใช้ครอบครัวบำบัด พร้อมพูดคุยแบ่งปันความรู้สึกแก่กันได้ และสังเกตอาการเตือนของผู้ป่วยก่อนนำเข้าพบแพทย์ ได้ยา การให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น ควรให้ผู้ป่วยได้กินยาอย่างต่อเนื่อง มาตามนัด ให้ผู้ป่วยมารักษาอาการตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง ไม่ขาดนัด ขจัดยาเสพติด หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด ทั้งสุราและยาเสพติด แม้ว่าธรรมชาติของโรคจิตเภทส่วนใหญ่จะเป็นแบบเรื้อรัง แต่หากสามารถดูแลให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติตามวิธีการเหล่านี้ จะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ไม่มีอาการกำเริบ มีโอกาสหายสูง รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

1 105 106 107 108 109 127
Skip to content