เคยเผลอบูลลี่ใครบ้างหรือเปล่า ทั้งตั้งใจ และไม่ตั้งใจ

เคยเผลอบูลลี่ใครบ้างหรือเปล่า ทั้งตั้งใจ และไม่ตั้งใจ

▫️คงไม่มีใครอยากตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ แต่ด้วยการขาดความเข้าใจ หรือไม่มีความรู้บางประการ อาจเป็นก่อให้เกิดพฤติกรรมการบูลลี่ได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ เราควรระมัดระวังกับการใช้คำพูด และแสดงท่าทีที่สุภาพและเคารพความเป็นผู้อื่นอยู่เสมอ 

จากสถิติของกรมสุขภาพจิต พบว่า เด็กไทยมีพฤติกรรมบูลลี่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น โดยเด็กไทยโดนบูลลี่ปีละประมาณ 600,000 คน คิดเป็น 40% ของนักเรียนทั้งหมด และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับนักเรียนระดับชั้นมัธยม 

วันนี้ เรามาทำความรู้จักรูปแบบของการบูลลี่ เพื่อสร้างความเข้าใจและป้องกันไม่ให้การบูลลี่นั้นเกิดขึ้นกันเถอะ

รูปแบบของการบูลลี่ ประกอบด้วย 3 รูปแบบหลัก คือ
1. บูลลี่ทางร่างกาย : เป็นการทำร้ายร่างกายจนมีบาดแผลที่เห็นได้อย่างชัดเจน และไม่ได้มีเพียงบาดแผลทางร่างกายเท่านั้นแต่ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจด้วย

2. บูลลี่ทางวาจา : เป็นการด่าทอ ล้อปมด้อย ส่อเสียด ใส่ร้าย พูดประจานออกสู่สาธารณะเพื่อให้บุคคลอื่นรับรู้ด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะก่อให้เกิดเป็นบาดแผลทางจิตใจ สร้างความอับอาย เครียด เก็บกด และอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้

3. บูลลี่ทางสังคม : เป็นการสร้างกระแสสังคมให้รุมกระหน่ำมาที่เหยื่อของการบูลลี่ ให้เกิดความอับอาย เช่น การปล่อยคลิปของเหยื่อ การสร้างข่าวลือ/ข่าวปลอม กดดันหรือขับไล่เพื่อนออกจากกลุ่ม

 ขอบคุณที่มา: แสงอรุณ ลิ้มวงศ์ถาวร
━━━━━━━━━━━━━━━━━

#กรมสุขภาพจิต
#สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต
#Bullying

Cookie Consent with Real Cookie Banner Skip to content