โรคหลายบุคลิก (Multiple Personality Disorder) คืออะไร

โรคหลายบุคลิก มีอีกชื่อเรียกว่า Multiple Personality Disorder เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่ถูกจัดอยู่ในประเภท Dissociative disorders ที่อยู่ในรายการของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ประเภท Dissociative disorders 

โรคหลายบุคลิกคืออะไร
ในโรคหลายบุคลิกนั้น คุณอาจจะประสบกับการมีสองอัตลักษณ์หรือบุคลิกหรือมากกว่าขึ้นไป อีกชื่อหนึ่งคือการมีบุคลิกภาพสองคนในคนเดียวกัน บุคลิกเหล่านี้จะเข้าควบคุมพฤติกรรมของคุณอีกครั้ง และคุณมักจะประสบกับการสูญเสียความทรงจำ เมื่ออีกหนึ่งบุคลิกถูกเปลี่ยนหรือกำลังควบคุม

โรคหลายบุคลิกเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปหรือไม่?

โรคหลายบุคลิก เป็นโรคที่หายาก จึงมีการศึกษาน้อย และมีการทำวิจัยในบุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกเพียงน้อยนิดหนึ่ง ในการศึกษาพบว่าประมาณ 1% ของผู้หญิงในชุมชนเป็นโรคหลายบุคลิก ซึ่งเรายังต้องการการศึกษาอีกมากเพื่อจะยืนยันข้อมูลนี้ แม้จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการวินิจฉัยโรคหลายบุคลิก แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นเพราะความตระหนักที่มีมากขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต หรือจากการวินิจฉัยผิด

ข้อโต้แย้งของโรคหลายบุคลิก: โรคหลายบุคลิกเกิดขึ้นจริงหรือเปล่า?

มีข้อโต้แย้งมายาวนานในวงการสุขภาพจิต ว่าโรคหลายบุคลิกมีจริงหรือเปล่า มีหลักฐานว่าบุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกจะมีความรู้สึกไวต่อการสะกดจิต และความผิดปกติเกี่ยวกับการคล้อยตาม ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางคนแย้งว่า อัตลักษณ์แยกต่างกันที่บุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกประสบนั้น อาจเป็นผลลัพท์ของการคล้อยตามนี้

ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ ได้แย้งว่ายังมีบางการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ปฏิเสธข้อโต้แย้งดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น บางการศึกษาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าบุคลิกที่แตกต่างของบุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกนั้น มี  รูปแบบการแสดงออกทางสรีรวิทยาที่ต่างกัน รวมถึงการกระตุ้นสมองที่แตกต่างกันหรือการตอบสนอง ของ หลอดเลือดหัวใจที่ต่างกัน

การศึกษาเหล่านี้ได้ถูกใช้เป็นหลักฐานสำหรับการเกิดขึ้นจริงของการมีบุคลิกภาพสองคนในคนเดียวกัน การศึกษาเกี่ยวกับโรคหลายบุคลิกนั้นมีข้อจำกัด และการวินิจฉัยยังมีข้อโต้แย้ง อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยนั้นได้รับการยอมรับมากขึ้นในชุมชนสุขภาพจิต และเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาโรคหลายบุคลิกกันมากขึ้น

เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับโรคหลายบุคลิก

เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับโรคหลายบุคลิกที่ได้ถูกบรรยายในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ในการพิมพ์ครั้งที่ 5 มีดังต่อไปนี้ :

  • การเกิดขึ้นของสองหรือมากกว่าของอัตลักษณ์หรือบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ละอันด้วยรูปแบบของการเข้าใจและเกี่ยวของกับสภาพแวดล้อม การเกิดขึ้นของบุคลิกเหล่านี้สามารถประเมินได้ด้วยตนเองหรือสังเกตด้วยนักบำบัดเพื่อการวินิจฉัย

  • การสูญเสียความทรงจำ (Amnesia) ต้องเกิดขึ้นซึ่งจะจำกัดว่าบุคคลหนึ่งจะจดจำอะไรเกี่ยวกับทั้งภัยพิบัติหรือภยันตรายและสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

  • บุคคลนั้นต้องมีความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน

  • อาการต่าง ๆ จะไม่มีส่วนเกี่ยวกับการกระทำตามหลักวัฒนธรรมหรือศาสนา

  • อาการต่าง ๆ ไม่ใช่ผลลัพท์ของการใช้สารใด ๆ เช่น แอลกอฮอล์ (alcohol) หรือยารักษาโรค

โรคหลายบุคลิกและโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

บุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิก มักมีรายงานของประสบการณ์การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย และการทารุณกรรมทางเพศอย่างรุนแรงในวัยเด็ก และมักมีอาการร่วมกันของโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง: Borderline Personality Disorder (BPD) รวมถึงมีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง (Self-harming behaviors) มีพฤติกรรมสิ่งเร้า และมีความไม่ยั่งยืนในความสัมพันธ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการที่การทารุณกรรมเด็ก (Childhood abuse) เป็นปัจจัยเสี่ยงของทั้งโรคหลายบุคลิกและโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง

มีทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาของโรคหลายบุคลิกได้เสนอว่า บุคคลที่เป็นโรคหลายบุคลิกได้ประสบกับการได้รับบาดแผลทางจิตใจอย่างรุนแรง และวิธีเดียวที่จะจัดการมันได้คือการพัฒนา Dissociation ที่เข้มแข็งเพื่อเป็นกลไกในการเผชิญปัญหาที่เหมาะสม เมื่อเวลาผ่านไป Dissociation ชนิดเรื้อรังจะนำไปสู่การสร้างของหลาย ๆ อัตลักษณ์ ในขณะที่ Dissociation เป็นอาการของ โรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โดยส่วนใหญ่แล้ว Dissociation ที่พบในโรคบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งจะไม่เกิดขึ้นบ่อยหรือไม่เกิดขึ้นรุนแรงเท่าในโรคหลายบุคลิก บางคนที่มีอาการของโรคหลายบุคลิกอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทั้งสอง

ถ้าคุณเป็นโรคหลายบุคลิก คุณอาจจะประสบกับอาการที่เกี่ยวข้องการบาดแผลทางจิตใจอื่น ๆ รวมถึง ฝันร้าย ภาพย้อนหลังถึงอดีตหรืออาการอื่นๆ ที่เป็นลักษณะของโรคความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ: Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD)

ที่มา : https://www.honestdocs.co/multiple-personality-disorder

Cookie Consent with Real Cookie Banner Skip to content